เด็กประถมแบ่งเพื่อนชิมขนม กัดปุ๊บล้มทั้งยืน แม่ฟ้องที่ทำให้ลูกตาย แต่ศาลตัดสินพลิกคดี

เด็ก 10 ขวบ เอาขนมไปโรงเรียน ใจดีแบ่งให้เพื่อนชิม แต่เพื่อนกัดปุ๊บล้มทั้งยืน โดนพ่อแม่เพื่อนฟ้องศาล ฐานทำให้ลูกตาย

เด็กชายหลี่ (นามสมมุติ) วัย 10 ขวบ แบ่งปันขนมใน ถุงหูกระต่าย ถุงพลาสติกหูกระต่าย ให้เพื่อนร่วมชั้น ไม่คาดคิดว่าทันทีที่กัดเข้าปากเพื่อนก็ล้มลง และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่งผลให้เด็กชายและพ่อแม่ของเขาถูกฟ้องในศาล

การแบ่งปันอาหารเป็นวิธีทั่วไปในการแสดงมิตรภาพของผู้คน แต่เด็กชายคนหนึ่งในประเทศจีนกลับประสบปัญหาใหญ่จากพฤติกรรมที่เป็นมิตรนี้ เด็กชายวัย 10 ขวบคนนี้มอบขนมรสเผ็ดให้เพื่อนร่วมชั้น ใครจะคิดว่าแค่กินเข้าไปเพื่อนของเขาก็ล้มลงกับพื้น และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

รายงานระบุว่า เด็กชายแซ่หลี่นำ “ขนมล่าเถียว” หรือขนมรสเผ็ดของจีน จำนวน 2 ห่อจากบ้านมาทานเป็นของว่าง หลังเลิกเรียนก็นำออกมาชิมและแบ่งปันกับเพื่อนร่วมชั้น ทันทีที่เอ (นามสมมุติ) ฉีกซองและกัดขนม ก็เอียงศีรษะและค่อยๆ ล้มลงนอนนิ่งอยู่กับพื้น

เด็กถูกนำส่งโรงพยาบาลทันทีแต่ยื้อชีวิตไม่ได้ แพทย์ระบุสาเหตุการเสียชีวิตคือ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง พ่อแม่ของผู้เสียชีวิตรู้สึกเสียใจอย่างยิ่ง พร้อมกล่าวว่าลูกของพวกเขาเสียชีวิตหลังจากกินขนมนี้ ดังนั้นจึงตัดสินใจยื่นฟ้องร้องทั้งเด็กชายที่แบ่งปันขนมให้ และพ่อแม่ของเด็กชาย

อย่างไรก็ตาม รายงานของหน่วยงานทดสอบระบุว่า ขนมรสเผ็ดที่เด็กชายผู้เสียชีวิตกินนั้น เป็นไปตามข้อกำหนดของ มาตรฐานความปลอดภัยอาหารแห่งชาติ เกี่ยวกับการใช้วัตถุเจือปนอาหาร

รายงานการตรวจสอบของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาญา กรมตำรวจ ยังระบุด้วยว่า ตัวอย่างขนมรสเผ็ดที่ถ่ายในที่เกิดเหตุ ไม่มีสารพิษ เช่น ยากล่อมประสาท โฟเรต และไดคลอร์โวส

อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ขอผู้เสียชีวิตยังคงเชื่อว่า มีความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุและผลระหว่างขนมรสเผ็ดกับการเสียชีวิตของลูก และเรียกร้องให้ศาลตัดสินว่าเด็กชายหลี่ และพ่อแม่ของเขา ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย

ในการพิจารณาคดีเมื่อเร็วๆ นี้ ศาลกล่าวว่าประเด็นสำคัญของข้อพิพาทในกรณีนี้คือ การกินขนมรสเผ็ดที่เด็กชายหลี่นำมา และการเสียชีวิตของเพื่อนร่วมชั้น มีความสัมพันธ์แบบเหตุและผลต่อกันหรือไม่

ประการแรก การตรวจสอบของตำรวจ “ไม่พบส่วนผสมที่เป็นพิษ” ในขนม แม้ว่าจะมีวัตถุเจือปนอาหารหลายชนิด แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดอันตราย อีกทั้ง พฤติกรรมการแบ่งปันขนมของเด็กชายหลี่ ถือเป็นปฏิสัมพันธ์ปกติระหว่างเด็กๆ โดยไม่มีเจตนาที่จะทำร้ายเด็กชายเอ

ประการที่สอง บันทึกการสอบสวนและรูปถ่ายที่ตำรวจถ่ายในที่เกิดเหตุพบว่า ผู้เสียชีวิตกินขนมรสเผ็ดเข้าไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าขนมนี้เป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตจริงหรือไม่

ประการที่สาม พ่อแม่ของผู้เสียชีวิตยืนยันว่า ผู้เสียชีวิตไม่มีประวัติภูมิแพ้ และสาเหตุการเสียชีวิตคือ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง

ดังนั้น หลักฐานที่นำเสนอโดยพ่อแม่ของผู้เสียชีวิต จึงไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ว่ามีความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุและผล ระหว่างขนมรสเผ็ดกับการเสียชีวิต สุดท้ายศาลจึงตัดสินว่า เด็กชายหลี่ไม่มีเจตนาประสงค์ร้าย และไม่มีความผิดในการเสียชีวิตของเพื่อนร่วมชั้น และไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายในคดีนี้